วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โครงการอ่านไทยบนมือถือ พีทอล์ค

โครงการอ่านไทยบนมือถือ พีทอล์ค
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารได้พัฒนาไปมาก แต่ยังมีผู้ใช้บางกลุ่มที่ประสบปัญหาในด้านการใช้งาน เนื่องจากความผิดปรกติในการมองเห็น ดังนั้นเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ใช้งานกลุ่มดังกล่าวสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น ผู้พัฒนาจึงได้พัฒนาโปรแกรมอ่านไทยบนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ชนิดพกพา (pTalk) เพื่อที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานที่มีปัญหาในด้านการมองเห็นโดย โปรแกรมดังกล่าวจะอ่านข้อมูลเหล่านั้นให้ผู้ใช้ฟัง เช่น ข้อมูลการโทรจำพวก เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้า เบอร์โทรศัพท์ที่โทรออก หรือเบอร์โทรศัพท์ที่ไม่ได้รับ และยังรวมไปถึงข้อความที่ท่านได้รับ และโปรแกรมดังกล่าวยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อความตัวอักษรได้อีกด้วย เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีความบกพร่องทางสายตา ให้สามารถรับรู้และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์ได้อย่างสะดวก และง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้ใช้ข้างต้นจะได้รับเป็นข้อมูลในรูปแบบเสียงภาษาไทยของข้อความที่ผู้ใช้ต้องการฟัง และช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อความโดยการพิมพ์อักษรเบลล์แทนตัวอักษรภาษาไทย และอีกกลุ่มผู้ใช้งานโปรแกรมนี้ สามารถเป็นไปได้ทั้ง ผู้ใช้ที่ไม่สามารถอ่านภาษาไทย และบุคคลทั่วไปก็ยังสามารถใช้งานได้เช่นกัน เพราะโปรแกรมดังกล่าวยังคงไว้ซึ่งการแสดงผลบนหน้าจอหรือการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ชนิดกราฟฟิก (Graphic User Interface) โดยรายละเอียดของโปรแกรมมีดังนี้ โปรแกรมดังกล่าวประกอบไปด้วย 4 เมนู คือ (1) ข้อความ, (2) ข้อมูลการใช้งาน, (3) สร้างเสียง และ (4) ตั้งค่าโปรแกรม
· เมนูข้อความ จะประกอบไปด้วยเมนูย่อย 2 เมนูดังนี้ คือ (1) กล่องข้อความ เป็นเมนูแสดงข้อความที่ท่านได้รับโดยท่านสามารถสั่งให้ โปรแกรมอ่านข้อความนั้นๆได้ (2) เขียนข้อความ เป็นเมนูสำหรับการสร้างข้อความโดยการพิมพ์อักษรเบลล์ของแต่ละตัวอักษร
· เมนูข้อมูลการใช้งาน มีไว้เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการโทรเข้าและโทรออก โดยจะรวมข้อมูลการโทรทั้งหมดไว้ในหน้าดังกล่าวโดยจะเรียงตามลำดับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด
· เมนูสร้างเสียง เป็นเมนูสำหรับพิมพ์อักษรเบลล์แทนตัวอักษรและสร้างเสียงจากอักษรเบลล์ที่ใส่ลงไป
· เมนูตั้งค่าโปรแกรม เป็นเมนูให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าโปรแกรมว่าจะอ่านข้อมูลอะไรบ้าง เช่น ท่านสามารถกำหนดให้โปรแกรมทำการอ่านเฉพาะเบอร์โทรของผู้ที่ส่งข้อความได้โดยไม่ต้องอ่าน วันและเวลาที่ท่านได้รับข้อความนั้น
สรุปคือคณะผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมอ่านไทยขึ้น โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาหรือการมองเห็น ให้สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ชนิดพกพาได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ข้อความ ข้อมูลการใช้งาน สร้างเสียง และตั้งค่าโปรแกรม เป็นสี่เมนูย่อยภายในโปรแกรมอ่านไทย ที่ถูกพัฒนาขึ้นในเบื้องต้น ซี่งคณะผู้วิจัยพัฒนาจะพัฒนาต่อยอดให้มีเมนูและฟังก์ชั่นเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีปัญหาทาง สายตาใดๆสามารถใช้งานโปรแกรมนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ใช้ต้องใช้สายตากับสิ่งอื่นๆ เช่น ระหว่างขับรถยนต์


รูปที่ 1: เมนูข้อความ (1)

รูปที่ 2: เมนูข้อความ (1)


รูปที่ 3: เมนูการใช้งาน และ เมนูตั้งค่าโปรแกรม



รูปที่ 4: เมนูสร้างเสียง

สถานที่ติดต่อ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ชื่อโครงการ
โครงการอ่านไทยบนมือถือ พีทอล์ค
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการ
โครงการวิจัยและพัฒนาได้พัฒนาเสร็จสิ้นแล้ว
คณะวิจัยคือ นักศึกษาและอาจารย์ในภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร และ นักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ผู้ประสานงาน
นายปรีชากร ต่อเรืองวัฒนา (0-1430-9799)
ผศ. ดร. ชลวิช นัชที
รศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร, ศูนย์บางกะดี
131 หมู่ 5, ถนนติวานนท์, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ต. บางกะดี
อ.เมือง จ. ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์. +66 (0) 2501 3505-20 (ต่อ 2010, 2002, 2012)
โทรสาร: +66 (0) 2501 3524
อีเมล: cholwich@siit.tu.ac.th
อีเมล: thanaruk@siit.tu.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น