หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตั้งแต่ปี 2551 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Tech) ได้จัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (ICTES) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีเอกลักษณ์ โดยเน้นการผลิตวิศวกรและนักเทคโนโลยีระดับปริญญาโท ที่มีความรู้ความสามารถเชิงลึกในเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบฝังตัว นักศึกษาทุกคนในหลักสูตรนี้จะได้รับทุนการศึกษาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และจะเข้าเรียนในชั้นเรียนที่สอนโดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ทั้งที่เป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียนและผ่านทางระบบเทเลคอนเฟอร์เรนซ์ นักศึกษาจะได้รับคำแนะนำด้านวิจัยจากอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ร่วมกับอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว และนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัวนี้ จะประกอบด้วยรายวิชาพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาระบบฝังตัว เช่น การออกแบบวีเอลเอสไอ การพัฒนาซอฟต์แวร์ฝังตัว นอกจากนี้ยังประกอบด้วยรายวิชาขั้นสูงที่เกี่ยวข้อง เช่น การสื่อสาร เน็ตเวอร์ก การประมวลผลสัญญาณ การเชื่อมต่อมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น นักศึกษาในหลักสูตรจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในลักษณะของการพัฒนาระบบฝังตัวจริง ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือและไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับหลักสูตรอื่นในประเทศไทยแล้ว หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัวนี้จะมีความเป็นเอกลักษณ์ น่าสนใจ และตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรด้านระบบฝังตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
ในปีที่สอง นักศึกษาจะนำความรู้ที่จากการเรียนการสอนในปีที่หนึ่งไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัย นำไปสู่การตีพิมพ์ผลงานเชิงวิชาการในงานประชุมวิชาการและวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ด้วยประสบการณ์วิจัยที่ได้ในปีที่สองนี้ นักศึกษาจะสามารถไปศึกษาต่อได้ในระดับปริญญาเอกทั้งในประเทศ หรือไปศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวพร้อมทุนการศึกษา หรือศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำในโลก นอกจากนี้ นักศึกษาจะมีคุณสมบัติพร้อมที่จะทำงานเป็นนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญเชิงเทคนิคในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับระบบฝังตัวทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น และประเทศที่พัฒนาแล้วต่างๆ ในอนาคตโครงการนี้จะครอบคลุมไปสู่ระดับปริญญาเอกด้วย
สุดท้ายนี้จะขออธิบายลักษณะพิเศษของหลักสูตรนี้ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัณฑิตศึกษาชื่อ ไทสต์โตเกียวเทค (TAIST Tokyo Tech) โดยไทสต์ (TAIST) จะเป็นองค์กรการศึกษาเสมือนที่เป็นแกนกลางในการทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงของประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจะให้การสนับสนุนนักวิจัยเพื่อเป็นที่ปรีกษาร่วมในการทำงานวิจัยของนักศึกษา ให้หัวข้อทำการวิจัย และให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศจะจัดการเรียนการสอน และเป็นที่ปรึกษาร่วมของนักศึกษาเพื่อทำงานวิจัยต่างๆ ส่วนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่เข้าร่วมในโครงการจะพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม จัดการเรียนการสอนในบางวิชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาแก่นักศึกษาในการทำวิจัย และให้ปริญญาบัตรแก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ปัจจุบันตัวอย่างแรกของโครงการไทสต์ (TAIST) ก็คือไทสต์โตเกียวเทค (TAIST Tokyo Tech) ที่ได้มีความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว กับมหาวิทยาลัยในไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รูปที่ 1: หลักสูตรสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (รุ่นที่ 1)
รูปที่ 2: หลักสูตรสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (รุ่นที่ 2)
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตั้งแต่ปี 2551 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Tech) ได้จัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (ICTES) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีเอกลักษณ์ โดยเน้นการผลิตวิศวกรและนักเทคโนโลยีระดับปริญญาโท ที่มีความรู้ความสามารถเชิงลึกในเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบฝังตัว นักศึกษาทุกคนในหลักสูตรนี้จะได้รับทุนการศึกษาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และจะเข้าเรียนในชั้นเรียนที่สอนโดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ทั้งที่เป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียนและผ่านทางระบบเทเลคอนเฟอร์เรนซ์ นักศึกษาจะได้รับคำแนะนำด้านวิจัยจากอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ร่วมกับอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว และนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัวนี้ จะประกอบด้วยรายวิชาพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาระบบฝังตัว เช่น การออกแบบวีเอลเอสไอ การพัฒนาซอฟต์แวร์ฝังตัว นอกจากนี้ยังประกอบด้วยรายวิชาขั้นสูงที่เกี่ยวข้อง เช่น การสื่อสาร เน็ตเวอร์ก การประมวลผลสัญญาณ การเชื่อมต่อมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น นักศึกษาในหลักสูตรจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในลักษณะของการพัฒนาระบบฝังตัวจริง ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือและไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับหลักสูตรอื่นในประเทศไทยแล้ว หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัวนี้จะมีความเป็นเอกลักษณ์ น่าสนใจ และตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรด้านระบบฝังตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
ในปีที่สอง นักศึกษาจะนำความรู้ที่จากการเรียนการสอนในปีที่หนึ่งไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัย นำไปสู่การตีพิมพ์ผลงานเชิงวิชาการในงานประชุมวิชาการและวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ด้วยประสบการณ์วิจัยที่ได้ในปีที่สองนี้ นักศึกษาจะสามารถไปศึกษาต่อได้ในระดับปริญญาเอกทั้งในประเทศ หรือไปศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวพร้อมทุนการศึกษา หรือศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำในโลก นอกจากนี้ นักศึกษาจะมีคุณสมบัติพร้อมที่จะทำงานเป็นนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญเชิงเทคนิคในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับระบบฝังตัวทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น และประเทศที่พัฒนาแล้วต่างๆ ในอนาคตโครงการนี้จะครอบคลุมไปสู่ระดับปริญญาเอกด้วย
สุดท้ายนี้จะขออธิบายลักษณะพิเศษของหลักสูตรนี้ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัณฑิตศึกษาชื่อ ไทสต์โตเกียวเทค (TAIST Tokyo Tech) โดยไทสต์ (TAIST) จะเป็นองค์กรการศึกษาเสมือนที่เป็นแกนกลางในการทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงของประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจะให้การสนับสนุนนักวิจัยเพื่อเป็นที่ปรีกษาร่วมในการทำงานวิจัยของนักศึกษา ให้หัวข้อทำการวิจัย และให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศจะจัดการเรียนการสอน และเป็นที่ปรึกษาร่วมของนักศึกษาเพื่อทำงานวิจัยต่างๆ ส่วนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่เข้าร่วมในโครงการจะพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม จัดการเรียนการสอนในบางวิชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาแก่นักศึกษาในการทำวิจัย และให้ปริญญาบัตรแก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ปัจจุบันตัวอย่างแรกของโครงการไทสต์ (TAIST) ก็คือไทสต์โตเกียวเทค (TAIST Tokyo Tech) ที่ได้มีความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว กับมหาวิทยาลัยในไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รูปที่ 1: หลักสูตรสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (รุ่นที่ 1)
รูปที่ 2: หลักสูตรสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (รุ่นที่ 2)
สถานที่ติดต่อ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อโครงการ
หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการ
หลักสูตรปริญญาโทร่วมระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
URL ของโครงการ
http://www.siit.tu.ac.th/graduate_ictes_en.htm
http://www.nstda.or.th/taist_tokyo_tech/
http://www.nstda.or.th/taist_tokyo_tech/index.php?option=com_content&task=view&id=12&Itemid=31
ผู้ประสานงาน
รศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร, ศูนย์บางกะดี
131 หมู่ 5, ถนนติวานนท์, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ต. บางกะดี
อ.เมือง จ. ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์. +66 (0) 2501 3505-20 (ต่อ 2004, 2002, 2012)
โทรสาร: +66 (0) 2501 3524
อีเมล: thanaruk@siit.tu.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น