วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

SIIT Thammasat University
Admission Schedule for 1/2010
International Programs in Engineering, Technology and Management

SIIT Entrance Examination
Application Period Nov. 9, 2009 - Mar.5, 2010
Examination and Interview Mar.16, 2010
Registration Mar. 25 - Apr. 2, 2010
(Exams: Mathematics, Physics or General Science, English)

Submission of Standardized Test Scores
(ACT, SAT, IB, IGCSE, GCE, 'O' Level or 'A' Level, 6th Form or 7th Form, NCEA)
January 2010
Application Period Nov. 9 - Dec. 30, 2009
English Placement Test and Interview Jan. 14, 2010
Registration Jan. 21 - 29, 2010
April 2010
Application Period Jan. 4 - Apr. 2, 2010
English Placement Test and Interview Apr. 21, 2010
Registration Apr. 29 - May 7, 2010

Submission of National Test Scores (O-NET, GAT, PAT)
Application Period Apr. 9 - May 7, 2010
Examination and Interview Apr. 14, 2010
Registration May 20-26, 2010

Central Admission System
April 11 - 20, 2010 at www.cuas.or.th
1. Civil Engineering
2. Engineering (Chemical, Mechanical, Industrial, Electronics and Communication)
3. Information Technology and Computer Science (Group 1)
4. Information Technology and Computer Science (Group 2)
5. Engineering, Technology Management (Group 1)
6. Engineering, Technology Management (Group 2)Scholarships are offered to high performance applicants who apply to SIIT as their first choice. (31 schorlarships)

Scholarships are offered to outstanding students who paticpated in Academic Olypiad Programs.

Apply online: http://reg.siit.tu.ac.th
More Information Tel. 02-9869009 ext. 1401, 1406, 1441, 1520, 1201

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โครงการอ่านไทยบนมือถือ พีทอล์ค

โครงการอ่านไทยบนมือถือ พีทอล์ค
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารได้พัฒนาไปมาก แต่ยังมีผู้ใช้บางกลุ่มที่ประสบปัญหาในด้านการใช้งาน เนื่องจากความผิดปรกติในการมองเห็น ดังนั้นเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ใช้งานกลุ่มดังกล่าวสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น ผู้พัฒนาจึงได้พัฒนาโปรแกรมอ่านไทยบนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ชนิดพกพา (pTalk) เพื่อที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานที่มีปัญหาในด้านการมองเห็นโดย โปรแกรมดังกล่าวจะอ่านข้อมูลเหล่านั้นให้ผู้ใช้ฟัง เช่น ข้อมูลการโทรจำพวก เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้า เบอร์โทรศัพท์ที่โทรออก หรือเบอร์โทรศัพท์ที่ไม่ได้รับ และยังรวมไปถึงข้อความที่ท่านได้รับ และโปรแกรมดังกล่าวยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อความตัวอักษรได้อีกด้วย เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีความบกพร่องทางสายตา ให้สามารถรับรู้และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์ได้อย่างสะดวก และง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้ใช้ข้างต้นจะได้รับเป็นข้อมูลในรูปแบบเสียงภาษาไทยของข้อความที่ผู้ใช้ต้องการฟัง และช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อความโดยการพิมพ์อักษรเบลล์แทนตัวอักษรภาษาไทย และอีกกลุ่มผู้ใช้งานโปรแกรมนี้ สามารถเป็นไปได้ทั้ง ผู้ใช้ที่ไม่สามารถอ่านภาษาไทย และบุคคลทั่วไปก็ยังสามารถใช้งานได้เช่นกัน เพราะโปรแกรมดังกล่าวยังคงไว้ซึ่งการแสดงผลบนหน้าจอหรือการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ชนิดกราฟฟิก (Graphic User Interface) โดยรายละเอียดของโปรแกรมมีดังนี้ โปรแกรมดังกล่าวประกอบไปด้วย 4 เมนู คือ (1) ข้อความ, (2) ข้อมูลการใช้งาน, (3) สร้างเสียง และ (4) ตั้งค่าโปรแกรม
· เมนูข้อความ จะประกอบไปด้วยเมนูย่อย 2 เมนูดังนี้ คือ (1) กล่องข้อความ เป็นเมนูแสดงข้อความที่ท่านได้รับโดยท่านสามารถสั่งให้ โปรแกรมอ่านข้อความนั้นๆได้ (2) เขียนข้อความ เป็นเมนูสำหรับการสร้างข้อความโดยการพิมพ์อักษรเบลล์ของแต่ละตัวอักษร
· เมนูข้อมูลการใช้งาน มีไว้เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการโทรเข้าและโทรออก โดยจะรวมข้อมูลการโทรทั้งหมดไว้ในหน้าดังกล่าวโดยจะเรียงตามลำดับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด
· เมนูสร้างเสียง เป็นเมนูสำหรับพิมพ์อักษรเบลล์แทนตัวอักษรและสร้างเสียงจากอักษรเบลล์ที่ใส่ลงไป
· เมนูตั้งค่าโปรแกรม เป็นเมนูให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าโปรแกรมว่าจะอ่านข้อมูลอะไรบ้าง เช่น ท่านสามารถกำหนดให้โปรแกรมทำการอ่านเฉพาะเบอร์โทรของผู้ที่ส่งข้อความได้โดยไม่ต้องอ่าน วันและเวลาที่ท่านได้รับข้อความนั้น
สรุปคือคณะผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมอ่านไทยขึ้น โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาหรือการมองเห็น ให้สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ชนิดพกพาได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ข้อความ ข้อมูลการใช้งาน สร้างเสียง และตั้งค่าโปรแกรม เป็นสี่เมนูย่อยภายในโปรแกรมอ่านไทย ที่ถูกพัฒนาขึ้นในเบื้องต้น ซี่งคณะผู้วิจัยพัฒนาจะพัฒนาต่อยอดให้มีเมนูและฟังก์ชั่นเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีปัญหาทาง สายตาใดๆสามารถใช้งานโปรแกรมนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ใช้ต้องใช้สายตากับสิ่งอื่นๆ เช่น ระหว่างขับรถยนต์


รูปที่ 1: เมนูข้อความ (1)

รูปที่ 2: เมนูข้อความ (1)


รูปที่ 3: เมนูการใช้งาน และ เมนูตั้งค่าโปรแกรม



รูปที่ 4: เมนูสร้างเสียง

สถานที่ติดต่อ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ชื่อโครงการ
โครงการอ่านไทยบนมือถือ พีทอล์ค
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการ
โครงการวิจัยและพัฒนาได้พัฒนาเสร็จสิ้นแล้ว
คณะวิจัยคือ นักศึกษาและอาจารย์ในภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร และ นักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ผู้ประสานงาน
นายปรีชากร ต่อเรืองวัฒนา (0-1430-9799)
ผศ. ดร. ชลวิช นัชที
รศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร, ศูนย์บางกะดี
131 หมู่ 5, ถนนติวานนท์, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ต. บางกะดี
อ.เมือง จ. ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์. +66 (0) 2501 3505-20 (ต่อ 2010, 2002, 2012)
โทรสาร: +66 (0) 2501 3524
อีเมล: cholwich@siit.tu.ac.th
อีเมล: thanaruk@siit.tu.ac.th




โครงการเทคโนโลยีร้อยสัมพันธ์ข่าวบนเว็บ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่ใช้แพร่หลายในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ตัวอย่างที่น่าสนใจอันหนึ่งก็คือ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวออนไลน์ของสำนักพิมพ์ต่างๆบนอินเทอร์เน็ต โดยเนื้อหาข่าวเหล่านี้มีประโยชน์มากในการทำให้เรารู้ถึงสถานการณ์ปัจจุบันในสังคมของเรา อย่างไรก็ตามเพื่อให้เราสามารถใช้เนื้อหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น เราจำเป็นต้องจัดการกับปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาแรกคือการที่เรามีข่าวออนไลน์มากมาย แต่เรามักจะไม่มีเวลามาอ่านข่าวพวกนี้ ปัญหาที่สองคือ ข่าวแต่ละชิ้นอาจจะไม่สมบูรณ์ในเนื้อหา ไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้อง ทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ผิดได้ ปัญหาที่สามคือ มันยากสำหรับเราที่จะจับความสัมพันธ์ระหว่างข่าวต่างๆทีมีความเกี่ยวข้องกัน เพราะข่าวพวกนี้บางครั้งถูกนำเสนอแยกๆกันโดยปราศจากความสัมพันธ์ หรือถ้ามีก็เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากคนใส่ให้ด้วยมือ ปัญหาที่สี่คือ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่จะสรุปสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราสนใจ เช่น สรุปเกี่ยวกับบุคคลคนหนึ่งที่เราสนใจหรือสรุปเกี่ยวกับสถานที่แห่งหนึ่งที่เราสนใจ เป็นต้น ในงานวิจัยและพัฒนานี้เราได้นำเสนอกรอบวิธีการ ในการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) โดยเฉพาะการทำเหมืองข้อความ (text mining) มาใช้ในการสร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยเราได้สารสนเทศได้รวดเร็วจากข่าวจำนวนมหาศาล
หัวข้อวิจัย 3 อย่างในโครงการนี้คือ (1) การนำเสนอเทคนิคในการจัดเก็บข่าวในรูปแบบโครงสร้างที่เป็นมาตรฐาน, (2) การศึกษาวิธีการสกัดข้อสารสนเทศโดยสกัดเอาส่วนที่เป็นใจความสำคัญออกจากเนื้อความ, (3) การนำเสนอวิธีการทางสถิติและวิธีการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) มาค้นพบความสัมพันธ์ที่แฝงอยู่ระหว่างข่าวชิ้นต่างๆ หรือ เอ็นทิตี (entities) ต่างๆ โดยในหัวข้อวิจัยแรก เราได้พัฒนามาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้เก็บข้อมูลข่าวในลักษณะโครงสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดึงข้อมูลมาใช้ ในหัวข้อวิจัยที่สอง เราได้นำวิธีการใช้กฏหรือวิธีการเชิงสถิติ มาใช้ในการสกัดดึงเอ็นทิตีที่เป็นใจความสำคัญ ได้แก่ บุคคล สถานที่ องค์กร วันเวลา การกระทำ ออกจากเนื้อความ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาการตรวจจับหาคำที่ไม่อยู่ในพจนานุกรมออกมาอย่างอัตโนมัติ ส่วนในหัวข้อที่สามนั้น เราได้ศึกษาวิธีการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างข่าวชิ้นต่างๆ หาความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี และประเมินคุณภาพของความสัมพันธืที่ค้นพบ วิธีการที่นำเสนอในงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างข่าวเหมือนในหลายแหล่ง แล้วทำการหาส่วนที่เหมือน ส่วนที่ต่างกัน ส่วนที่เสริม และส่วนมี่แย้งกันระหว่างข่าวสองชิ้น เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในระบบย่อความข่าวที่ได้จากหลายแหล่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธภาพและประสิทธิผล เพื่อหาความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในข่าวเหล่านั้น
ปัจจุบันระบบของเรา (URL: allnews.in.th) มีฟังก์ชั่นงานหลักอยู่ 3 อย่างคือ (1) การแสดงคำสำคัญในข่าว, (2) การแสดงระดับความสำคัญของข่าวแต่ละชิ้น, (3) การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข่าว โดยระบบได้ออกแบบมาจัดการกับข่าวจาก 24 สำนักพิมพ์ ได้แก่ เดลินิวส์ (www.dailynews.co.th), ข่าวสด (www.khaosod.co.th), ประชาชาติ (www.prachachat.net), มติชนออนไลน์ Matichon (www.matichon.co.th), ไทยรัฐ (www.thairath.co.th) เป็นต้น และได้เน้นข่าวใน 10 หมวดใหญ่คือ การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา บันเทิง กีฬา ต่างประเทศ วิทยาการไอที อาชญากรรม ภูมิภาค อื่นๆ ปัจจุบัน ระบบได้เปิดให้บริการที่ allnews.in.th ในหน้าแรกจะแสดงข่าวเด่นประจำวัน และข่าวที่เด่นในแต่ละหมวด นอกจากนี้สำหรับแต่ละข่าว เราได้ใส่รายการข่าวที่เหมือนกัน คล้ายกันอยู่หลังย่อความของข่าวนั้นๆ ทางซ้ายมือจะมีคำสำคัญที่เด่นในช่วงเวลานั้นๆ โดยขนาดตัวอักษรที่แสดงจะใหญ่เล็กตามระดับความสำคัญ
ในอนาคตอันใกล้ เราวางแผนที่จะใส่ฟังก์ชันในการสรุปความ การหาความต่างและความเหมือนระหว่างข่าว การแสดงการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสถานะการณ์ข่าว และอินเทอร์เฟสที่สะดวกง่ายมากกว่าระบบปัจจุบัน


รูปที่ 1: ข่าวเด่นประจำวันนี้

รูปที่ 2: ข่าวและข่าวที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 3: รายการคำเน็มเอ็นทิตีที่สำคัญในลักษณะก้อนเมฆ

สถานที่ติดต่อ

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ชื่อโครงการ

โครงการเทคโนโลยีร้อยสัมพันธ์ข่าวบนเว็บ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการ
โครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
คณะวิจัยคือ อาจารย์และนักศึกษาในภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร และนักวิจัยจากบริษัท Thoth Media
URL ของโครงการ
http://allnews.in.th/





ผู้ประสานงาน
รศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง
นางสาวณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร
นายณัฐพงศ์ ทองเทพ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร, ศูนย์บางกะดี
131 หมู่ 5, ถนนติวานนท์, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ต. บางกะดี
อ.เมือง จ. ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์. +66 (0) 2501 3505-20 (ต่อ 2004, 2002, 2012)
โทรสาร: +66 (0) 2501 3524
อีเมล: thanaruk@siit.tu.ac.th

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว


หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตั้งแต่ปี 2551 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Tech) ได้จัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (ICTES) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีเอกลักษณ์ โดยเน้นการผลิตวิศวกรและนักเทคโนโลยีระดับปริญญาโท ที่มีความรู้ความสามารถเชิงลึกในเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบฝังตัว นักศึกษาทุกคนในหลักสูตรนี้จะได้รับทุนการศึกษาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และจะเข้าเรียนในชั้นเรียนที่สอนโดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ทั้งที่เป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียนและผ่านทางระบบเทเลคอนเฟอร์เรนซ์ นักศึกษาจะได้รับคำแนะนำด้านวิจัยจากอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ร่วมกับอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว และนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัวนี้ จะประกอบด้วยรายวิชาพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาระบบฝังตัว เช่น การออกแบบวีเอลเอสไอ การพัฒนาซอฟต์แวร์ฝังตัว นอกจากนี้ยังประกอบด้วยรายวิชาขั้นสูงที่เกี่ยวข้อง เช่น การสื่อสาร เน็ตเวอร์ก การประมวลผลสัญญาณ การเชื่อมต่อมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น นักศึกษาในหลักสูตรจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในลักษณะของการพัฒนาระบบฝังตัวจริง ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือและไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับหลักสูตรอื่นในประเทศไทยแล้ว หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัวนี้จะมีความเป็นเอกลักษณ์ น่าสนใจ และตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรด้านระบบฝังตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
ในปีที่สอง นักศึกษาจะนำความรู้ที่จากการเรียนการสอนในปีที่หนึ่งไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัย นำไปสู่การตีพิมพ์ผลงานเชิงวิชาการในงานประชุมวิชาการและวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ด้วยประสบการณ์วิจัยที่ได้ในปีที่สองนี้ นักศึกษาจะสามารถไปศึกษาต่อได้ในระดับปริญญาเอกทั้งในประเทศ หรือไปศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวพร้อมทุนการศึกษา หรือศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำในโลก นอกจากนี้ นักศึกษาจะมีคุณสมบัติพร้อมที่จะทำงานเป็นนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญเชิงเทคนิคในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับระบบฝังตัวทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น และประเทศที่พัฒนาแล้วต่างๆ ในอนาคตโครงการนี้จะครอบคลุมไปสู่ระดับปริญญาเอกด้วย
สุดท้ายนี้จะขออธิบายลักษณะพิเศษของหลักสูตรนี้ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัณฑิตศึกษาชื่อ ไทสต์โตเกียวเทค (TAIST Tokyo Tech) โดยไทสต์ (TAIST) จะเป็นองค์กรการศึกษาเสมือนที่เป็นแกนกลางในการทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงของประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจะให้การสนับสนุนนักวิจัยเพื่อเป็นที่ปรีกษาร่วมในการทำงานวิจัยของนักศึกษา ให้หัวข้อทำการวิจัย และให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศจะจัดการเรียนการสอน และเป็นที่ปรึกษาร่วมของนักศึกษาเพื่อทำงานวิจัยต่างๆ ส่วนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่เข้าร่วมในโครงการจะพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม จัดการเรียนการสอนในบางวิชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาแก่นักศึกษาในการทำวิจัย และให้ปริญญาบัตรแก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ปัจจุบันตัวอย่างแรกของโครงการไทสต์ (TAIST) ก็คือไทสต์โตเกียวเทค (TAIST Tokyo Tech) ที่ได้มีความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว กับมหาวิทยาลัยในไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

รูปที่ 1: หลักสูตรสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (รุ่นที่ 1)
รูปที่ 2: หลักสูตรสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (รุ่นที่ 2)


สถานที่ติดต่อ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ชื่อโครงการ
หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการ
หลักสูตรปริญญาโทร่วมระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

URL ของโครงการ
http://www.siit.tu.ac.th/graduate_ictes_en.htm
http://www.nstda.or.th/taist_tokyo_tech/
http://www.nstda.or.th/taist_tokyo_tech/index.php?option=com_content&task=view&id=12&Itemid=31

ผู้ประสานงาน
รศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร, ศูนย์บางกะดี
131 หมู่ 5, ถนนติวานนท์, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ต. บางกะดี
อ.เมือง จ. ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์. +66 (0) 2501 3505-20 (ต่อ 2004, 2002, 2012)
โทรสาร: +66 (0) 2501 3524
อีเมล: thanaruk@siit.tu.ac.th

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์















สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
Sirindhorn International Institutue of Technology (SIIT)
Thammasat University
"Your Best Choice of International Education"
เป็นสถาบันการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญา ตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ การเรียนการสอนทุกหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ คณาจารย์ของทุกคณะมีคุณวุฒิปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทั่วโลก และเป็นสถาบันเทคโนโลยีที่มีงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง

หลักสูตรที่เปิดสอน
วิศวกรรมศาสตร์
วิศวกรรมเคมี (ChE)
วิศวกรรมโยธา (CE)
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร (EC)
วิศวกรรมอุตสาหการ (IE)
วิศวกรรมเครื่องกล (ME)
เทคโนโลยี
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS)
เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
การจัดการ
การจัดการวิศวกรรม (EM)
เทคโนโลยีการจัดการ (MT)